EP136 : Quantum Computer เทคโนโลยีการประมวลผลในระดับอะตอม

Published: Aug. 18, 2020, 10:32 p.m.

ถ้าเราเปรียบสมาร์ทโฟนกับคอมพิวเตอร์ยุค 1980 เราจะเห็นว่าเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ทั้งประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการประมวลผลนั้นก้าวหน้าเป็นอย่างมาก แต่ถ้าเราพูดถึง Quantum Computer ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต ถ้าเรานำคอมพิวเตอร์รุ่นล่าสุดในปัจจุบันมาเทียบความเร็วและความสามารถกับ Quantum Computer หล่ะก็คอมพิวเตอร์ในวันนี้จะกลายเป็นของยุคหินทันทีเลยครับ Quantum Computer ประมวลผลในระดับเล็กสุด เล็กขนาดระดับอะตอม มันมีฐานการเก็บข้อมูลที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ทั่วไป(Traditional Computer) ซึ่งจะจัดเก็บข้อมูลเป็นแบบระบบฐานสอง มีหน่วยวัดเป็น BIT(Binary Digit)นั้นคือเก็บค่า 0 กับ 1 อย่างใดอย่างหนึ่ง แตกต่างจาก Quantum Computer ซึ่งมีหน่วยวัดเป็น QuBit(Quantum Bit) โดยจะสามารถเก็บค่า 0 และ 1 ได้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นถ้าเรามี 2 QuBit ก็จะได้ค่าความเป็นไปได้ในการจัดเก็บถึง 4 ค่า (00 01 10 11) โดยทั้งสี่ค่าสามารถเกิดซ้อนทับกันได้ ซึ่ง 3 Qubit นั้นหมายถึงความน่าจะเป็นมีถึง 8 ค่า ส่วน 4 QuBit นั้นมากถึง 16 ค่า ความน่าจะเป็นสูงขึ้นเติบโตอย่างทวีคูณไปเรื่อยๆ เมื่อมีจำนวน Qubit ที่มากขึ้น ดังนั้นจึงเกิดความรวดเร็วในการประมวลผล และQubit นี้จะสามารถเก็บค่าตัวแปรต่างๆได้มากขึ้น ด้วยความสามารถนี้ จึงนำเทคโนโลยี Quantum Computer ไปใช้ในการประมวลผลกับสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนมากๆ อย่างอัลกอริทึ่มในระดับสูงในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ การนำไปใช้กับระบบ CyberSecurity การนำมาใช้กับเทคโนโลยี SmartCity และการนำไปใช้ในวางการแพทย์และสาธารณสุข เป็นต้น ลองฟังกันดูครับ